Category Archives: Training & Meeting 2023

  • -

กิจกรรมที่ 4 การเข้าร่วมเสวนา เจรจาธุรกิจ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความต้องการซื้อขาย ผลิตภัณฑ์ระหว่างไทยและรัสเซีย

สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทยโดย นายกสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมฯ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี สงวนพงษ์ ได้รับเชิญจาก Moscow Export Center ให้คัดเลือกสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจด้าน ICT ได้แก่บริษัท GENFOSIS (ซอฟแวร์ด้าน DNA analysis โดย ดร. Jarika Makkoch ) บริษัท Touch Innovation Research&Technology (หุ่นยนตร์ และ โดรน โดย ดร. Natnaporn Aeknarajindawat ) นำสินค้าและบริการเข้าร่วมเสวนา เจรจาธุรกิจ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความต้องการซื้อขาย ผลิตภัณฑ์ระหว่างไทยและรัสเซีย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องบอลรูม โรงแรมสุโขทัย ถนนสาธรใต้ โดยมี Moscow Export Center ซึ่งเป็น support Structure ด้านการค้าของรัสเซีย เป็นผู้ประสานงานในการเจรจาธุรกิจ และได้นำตัวแทนบริษัทด้านไอทีของรัสเซียมาเข้าร่วมเจรจาการค้า จำนวน 15 บริษัท ซึ่งบริษัทต่างๆได้นำเสนอสินค้าและบริการด้านไอทีให้กับผู้แทนบริษัทของไทยและตอบข้อซักถาม
 
ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ ที่ปรึกษาด้านไอที มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ร่วมกิจกรรมและให้คำปรึกษาแก่ สมาคมฯ
#MoscowExportCenter

  • -

กิจกรรมที่ 3 กรรมการตัดสินผลงานฐานวิทยาศาสตร์ ระดับ ปวช. จากสำนักงานอาชีวศึกษา

วันที่ 22-25 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน อุปนายกสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทย ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการตัดสินผลงานฐานวิทยาศาสตร์ ระดับ ปวช. ในงานประกวดโครงการนวัตกรรมอาชีวะศึกษา นานาชาติ ครั้งที่ 8 ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี  โดยมีจำนวนผลงานเสนอปากเปล่า 15 ผลงาน โปสเตอร์ 27 ผลงาน ซี่งเป็น นักศึกษา จากประเทศไทย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ปากีสถาน และญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานอาชีวศึกษา  
 
จากผลงานที่ได้รับรางวัลมีศักยภาพสามารถปรับปรุงต่อเป็นการงานอาชีพสู่อุตสาหกรรมและไปต่อประกวดเวทีใหญ่ ในระดับนานาชาติได้ หากได้รับการร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กับนักศึกษาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเศรษฐกิจ ชื่อเสียง เป็นกระบวนการศึกษาที่เรียนรู้สร้างทักษะ และตอบปรัญญาของการศึกษาได้อย่างแท้จริง


  • -

กิจกรรมที่ 2 การลงนามความร่วมมือระหว่าง สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทย และมหาวิทยาลัยในภาคเหนือ 10 แห่ง

สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทย เข้าร่วมลงนามความร่วมมือเครือข่ายวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยเครือข่าย 10 แห่ง ประกอบด้วย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
มหาวิทยาลัยพายัพ
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
และมหาวิทยาลัยพิษณุโลก
ในการประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 9
“สู่วิจัยรับใช้สังคม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยนวัตกรรม เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” The 9th Conference on Research and Creative Innovations (CRCI 2023) ระหว่างวันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพลส จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

  • -

กิจกรรมที่ 1 โครงการศึกษาดูงานเพื่อยกระดับมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ระดับนานาชาติ

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
รองผู้อำนวยการ และคณะทีมงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ได้เข้าพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลในการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่ระดับนานาชาติ ในโครงการศึกษาดูงานเพื่อยกระดับมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ระดับนานาชาติ และจัดอันดับเชิงวิชาการของมหาวิทยาลัย ภายใต้ โครงการยกระดับมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ระดับนานาชาติ และจัดอันดับเชิงวิชาการของมหาวิทยาลัย แผนงานเสริมสร้างความเข้มแข็งการบรหารจัดการแผนงาน และโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)  ณ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ไทย

รายชื่อผู้มาร่วมประชุม
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร พัชรประกิติ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
2. ดร.ตะวัน วาทกิจ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
3. นางสาววราภรณ์ ต้นใส ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
4. นางสาวณิชกมล โพธิ์แก้ว ตำแหน่ง นักจัดการงานวิจัย


Facebook

Facebook Pagelike Widget